Organic Fertilizer

Type =Compost
Other Names=Expcop
MF =Expcop
Place of Origin=Thailand
Release Type=Controlled
State =Granular
Brand Name =buyer's, or ours
Soil Treatment=Seed Treatment
Product Name =Chao Nang
Product Keyword Organic Fertilizer
Listing Description Organic fertiliser, granular fertiliser, compound fertiliser, fertilizer, solid based for all plant growing
Detailed Description
Super Green Herb (100%Natural Extracted)
for potects plant and crops from harmful insects
Anti-insect pests and herbal extracts
Important component.
Green Herb is anti insects and worms. Extracted from more than hundred kinds of herbs. Extract from the modern technology. The pure compounds from herbs complete the 4 groups: plants, animals, minerals, fungi. The principle of toxicology, natural toxins from insect damage. But no harm to warm-blooded animals mammals. The Properties
* Green Herb could be used to all plants and crops to prevent and eliminate the trips larvae penetrate leaves flea prevention and many other fungicides
How to use:
* The Green Herb could be used mix together with Green Plant and herb, first mix Green Plus (please see the given instruction) and after mix Green Plant (Please see the given instruction) and mix Green herb also according given instruction then spray.IMP: Please don’t mix before green plant and green plus that will effect
* The Green herb could be used separate also with given instruction
* This is100% Natural, there is no any chemical added so user no need to serious to using other mask and equipments
* Could be reduce and increase the volume according need and case by case
Chao Nang(Organic Fertilizer)
Using Method with different Plants
Fruit
Orange, Lemon, Mango, Papaya, Lychee, Guava, Pear, Apple, and Others fruits plant
Utilization rate.- 2-3 kg per tree.
How to use- Insert second bottom hole / round canopy. Periodically until the product.
Dry crops
Rice, Corn, Sugarcane, Taro, Cassava, Potato, and other crops
Utilization rate.- 50 kg /Ropani .(400 sqM)
How to use
Insert second bottom of the pit / foundation Mixed with soil cultivation wait. And put on a
regular basis until the harvest.

Vegetable

Chilli, onion, cucumber, eggplant, asparagus, kale, morning glory, other vegetables
Utilization rate.- 1-2 tablespoons per plant.
How to use

1. Insert second bottom of the pit / sprinkle around the plant stem and then shoveling the line drown periodically until the harvest.
Ornamental flowers.
Utilization rate.- 1-2 tablespoons per plant.
How to use- Enter second bottom pot / soil mix around the stem and planted at any time
Rice transplanted by casting.
Utilization rate.- 50 kg / Ropani(400 sq M)
How to use- Scattering around the rice field. Periodically until the harvest.
Rubber trees, Palm tree or other similar trees
Utilization rate.- 2-3 kg / tree.
How to use- Enter second bottom hole / round from the bottom at any time.
Super Green Plant
(Natural Food Supplement for Plant) Extracted from 100% Nature
It is an element which is intercept from microbe which is benefit for the entire plants
Melt in water a spray all over the leaf. The plan can absorb the nutrient in an efficiency way.
Important nutrients
• Calcium (Ca).
• Magnesium (Mg).
• Iron (Fe).
• Zinc (Ze).
• Mang Ka Nice (Mn).
• Copper (Cu).
• The Platinum Mo (S).
• Sulfur (S).
• Nickel (N).
• Boron (B).
Property
1. Add nutrients to meet the needs of the plant.
2. To help stimulate the inside of the plant such as photosynthesis. And absorb
Nutrients and water the root system.
3. Helps plants recover quickly. Especially the new crops.
4. Accelerate the dark green leaves and branches and plump than usual.
5. Enhanced Food for flowering fruit.
6. Accelerate the growth of fast Acceleration of color. And weight gain.
7. Increase the strength of the calyx Prevention of loss and differences.
8. To prevent the destruction of insects and diseases.
9. No harm to users and consumers. There are no chemicals added
Super Green Plus
(Extracted from crabs and prawn shells)
Better Properties and benefits
* The Green Plus is useful for l treating soil condition in balance, plant could absorbing element in soil for easily use and increasing nitrogen in soil.
* Seed treatment before growing, to protect from different disease and fast growing
* Helping to activate organic maters from soil if available, make soil light and bring back the soil into good conditions.
* Stimulate the root and make the root strong and more nutrient for the growing plant, Completing stalk, Brancheses, and leaves,Giving more tree to and leaves, Give more eyes of flowers. increasing size of leave, stalk, flowers, quickly in 3-7 days, that giving more weight more 2-3 times from never giving
* Giving plant producing immunology against disease, and giving thin film, protecting animal disease.
* Reaming brittle of vegetables, fruit good skin and good color
* Giving good of oil, more volume of oil
Using Method
For Soil Treatment
Mixed Green Plus to water ratio to suit the various methods are used.
• Enter in the soil before planting. The water at the rate of 1 liter per 1000 liters of water spray or pour On the ground in a farm field before planting 1-2 7 days (eliminating the root rot fungus rot) for rice put together. Water into the rate of 1 liter per Ropani FARMS 2-3 7 days before plowing.
For Seed Treatment
• Soak the seeds. Mix the dry seeds soaked in water at a rate of 20 cc per 20 liters of water to the seeds absorb water until saturated before planting. (Takes about 5-24 hours depending on the type of grain) rice soaked for 1-2 days.
• Logs varieties such as cassava, sugar cane, fresh fruit dip using about 20-30 minutes before planting.
Min. Order Quantity 50 Metric Ton/Metric Tons
FOB Price USD 120~150 / Metric Ton
Port Bangkok/Laemchabang
Payment Terms L/C T/T
Production Capacity 100 Metric Ton/Metric Tons / Day
Packaging Details Organic Fertilizer chaonag 50kg/Bag
Super Green Plant 1lit/Bot/12Bot/Box
Super Green Plus 1Lit/Bot/12bot/Box
Super Green Herb 1Lit/Bot/12bot/Box
Delivery Time 15 days after receiving the payment
Group Organic Fertilizer

We are able to open L/C has already

We have good news to let you know.
We are able to open L/C has already
Please support century port (Thailand) and requote CIF
An initial trial order 2500MT
If you ok please send FCO to me.
expcop@gmail.com & http://expcop.blogspot.com

ต้องการซื้อกะลาปาล์ม ด่วน

ต้องการซื้อกะลาปาล์มราคา2600B/MT
มีเท่าไรรับหมด
การจ่ายเงิน สด ทันทีที่ได้รับสินค้า
ขนส่ง พ่วงดั๊ม
เสนอราคามาที่
expcop@gmail.com
http://expcop.blogspot.com

ระบบหม้อไอน้ำ(Boiler)และกังหันไอน้ำ(Steam Turbine)

เทคโนโลยี นี้ใช้หม้อไอน้ำแบบท่อน้ำเพื่อผลิตไอน้ำ จากนั้นส่งไอน้ำเข้ากังหันไอน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้า เป็นเทคโนโลยีพื้นฐานของโรงไฟฟ้าทั่วไป ราคาค่าก่อสร้างแปรผกผันตามกำลังการผลิต กล่าวคือยิ่งใหญ่ยิ่งมีราคาต่อเมกะวัตต์น้อยลง
2.1   โครงสร้างห้องเผาไหม้หม้อไอน้ำมีหลากหลายแบบขึ้นกับประเภทของเชื้อเพลิงและประสิทธิภาพการเผาไหม้ ตัวอย่างที่ใช้ในประเทศไทย
1.  Incline / Fixed grate stoker มีโครงสร้างแบบง่ายๆ ตะกรับจะยึดติดอยู่กับที่ ต้นทุนค่าก่อสร้างค่อนข้างถูก ข้อเสียคือประสิทธิภาพต่ำ นำขี้เถ้าออกยาก และบางครั้งเชื้อเพลิงค้างอยู่กลางตะกรับ ทำให้ประสิทธิภาพการเผาไหม้ลดลง โครงสร้างนี้ส่วนใหญ่ใช้ในโรงงานน้ำตาล โรงงานน้ำมันปาล์ม และโรงสีข้าวเช่นโรงไฟฟ้าปทุมไรซ์มิลล์

 
รูปภาพ 1 ห้องเผาไหม้แบบตะกรับเอียง


2.  Traveling grate stoker โครงสร้างของตะกรับจะเคลื่อนที่ตลอดเวลา คล้ายตีบตะขาบรถถังเหมาะสำหรับเชื้อเพลิงที่มีขนาดใกล้เคียงกันและมีสัดส่วน ขี้เถ้ามากเช่นแกลบ โรงไฟฟ้าที่ใช้ระบบนี้มีหลายแห่งเช่น ร้อยอ็ดกรีน อู่ทองไบโอแมส บัวสมหมาย กัลฟ์ยะลากรีนและโรงงานน้ำตาลบางแห่ง อย่างไรก็ตามโครงสร้างนี้ไม่เหมาะกับการเผาไหม้เชื้อเพลิงหลายชนิดพร้อมกัน เพราะเชื้อเพลิงจะถูกเผาไหม้หมดไม่พร้อมกัน

รูปภาพ 2 ห้องเผาไหม้แบบตะกรับเคลื่อนที่

 

3.  Spreader fired stoker โครงสร้างนี้พัฒนามาจาก Traveling grate stoker โดยนำเชื้อเพลิงมาบดให้ละเอียดและพ่นเข้าเตา มีประสิทธิภาพการเผาไหม้สูงขึ้นเพราะเชื้อเพลิงสัมผัสอากาศทั่วถึง แต่ต้นทุนค่าก่อสร้างสูงเช่นกัน ระบบนี้มีใช้อยู่ที่เดียวคือ บ.เอทีไบโอพาวเวอร์ (พิจิตร)

รูปภาพ 3 ห้องเผาไหม้แบบ Spreader stoker


 4. Step grate stoker มีโครงสร้างคล้ายกับขั้นบันได เชื้อเพลิงจะถูกผลักลงทีละขั้นทำให้มีโอกาสพลิกไปมา ประสิทธิภาพการเผาไหม้ดีขึ้น เหมาะกับการใช้เชื้อเพลิงหลายชนิด ติดตั้งในโรงไฟฟ้ามุ่งเจริญพร และบัวใหญ่ไบโอพาวเวอร์

รูปภาพ 4 ห้องเผาไหม้แบบขั้นบันได


 
5.  Fluidized bed ใช้ทรายเป็นตัวช่วยในการเผาไหม้ เหมาะกับเชื้อเพลิงที่มีความชื้นสูงและสามารถเผาไหม้เชื้อเพลิงได้หลากหลาย ชนิดพร้อมกัน ดังนั้นราคาก่อสร้างค่อนข้างสูง ติดตั้งในโรงไฟฟ้าไบโอแมสพาวเวอร์ บริษัทแอดวานซ์ อะโกร และไทยพาวเวอร์ซัพพลาย 
 
รูปภาพ 5 ห้องเผาไหม้แบบฟลูอิดไดซ์บด


6. Vibrating grate stoker ตะกรับจะสั่นเพื่อให้ขี้เถ้าไหลลงสะดวก เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้ ระบบนี้มีใช้อยู่ 3 โรงคือ บ.ภูเขียวไบโอ-เอ็นเนอร์ยี บ.ด่านช้างไบโอ-เอ็นเนอร์ยี และโรงงานน้ำตาลขอนแก่น ซึ่งทั้งสามโรงเป็นโรงงานน้ำตาลทั้งหมด
 
รูปภาพ 6 ห้องเผาไหม้แบบตะกรับสั่น


ดัง นั้นการจะเลือกใช้หม้อไอน้ำแบบใดและระบบการเผาไหม้แบบไหน ขึ้นกับเงินลงทุน ชนิดของเชื้อเพลิง และราคาของเชื้อเพลิงเป็นหลัก และถ้าตัดสินใจไม่ได้คงต้องใช้ความชอบของเจ้าของโครงการมาพิจารณาร่วมด้วย ไม่ผิดกติกาใดๆ
 2.2  ความดันไอน้ำในหม้อไอน้ำ    สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับตามความดันไอน้ำคือ 
1.  ความดันต่ำไม่เกิน 20 บาร์ มีต้นทุนก่อสร้างต่ำ นิยมใช้ในโรงงานน้ำตาลและโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบ ส่วนใหญ่เป็นระบบผลิตพลังงานร่วม (Cogeneration) กล่าวคือมีการนำไอน้ำใช้ในกระบวนการผลิต มีประสิทธิภาพเฉพาะการผลิตไฟฟ้าประมาณ 5  %
2.  ความดันปานกลางระหว่าง 20 40 บาร์ เป็นขนาดที่โรงไฟฟ้าส่วนใหญ่นิยมใช้ มีต้นทุนค่าก่อสร้างประมาณ  1.0 -1.2 ล้านเหรียญสหรัฐ/เมกะวัตต์ มีประสิทธิภาพรวมประมาณ 20 - 23 % 
3.  ความดันสูงมากว่า 60 บาร์ขึ้นไป เช่นโรงไฟฟ้าเศษไม้ยะลากรีนพาวเวอร์ 23 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าแกลบเอทีไบโอพาวเวอร์ 22.5 เมกะวัตต์ มีต้นทุนค่าก่อสร้างเกือบ 2 ล้านเหรียญสหรัฐ/เมกะวัตต์ (ยกเว้นโรงไฟฟ้าชานอ้อยที่สร้างใหม่ในเครือน้ำตาลมิตรผลมีต้นทุนก่อสร้างต่ำ กว่าเพราะใช้อุปกรณ์บางส่วนร่วมกับโรงงานน้ำตาล) มีประสิทธิภาพรวมประมาณ 25 - 28  % 
ข้อสังเกต โรงไฟฟ้าที่ใช้ไอน้ำความดันสูง ประสิทธิภาพการผลิตจะสูง แต่จะเหมาะสมกับประเทศไทยหรือไม่ ขึ้นกับราคาเชื้อเพลิงเป็นหลัก ตัวอย่างข้างล่างนี้ได้คำนวณให้เห็นว่า กรณีที่ 1 เปรียบเทียบหม้อไอน้ำขนาดความดัน 40 และ 60 บาร์ มีประสิทธิภาพรวม 20 และ 25 % ตามลำดับ ถ้าแกลบราคา 750 บาท/ตัน เชื้อเพลิงที่ประหยัดได้เท่ากับ 27 ล้านบาทตลอดอายุโครงการ ซึ่งไม่คุ้มกับเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้น 2 1.2 = 0.8 ล้านเหรียญสหรัฐหรือ 32 ล้านบาท/เมกะวัตต์ แต่ในกรณีที่ 2 ใช้เศษไม้ยางพาราเป็นเชื้อเพลิงในราคาที่เท่ากัน จะประหยัดได้ 40.5 ล้านบาทซึ่งคุ้มค่ามากกว่า (อนึ่งยังไม่นำค่าซ่อมบำรุงและอัตราดอกเบี้ยมาคำนวณ)  
  กรณีที่ 1 แกลบ กรณีที่ 2 เศษไม้
1)หม้อไอน้ำความดัน 40 บาร์, อัตราการบริโภคเชื้อเพลิง (ตัน/ปี/เมกะวัตต์) 9,100 13,500
2)หม้อไอน้ำความดัน 60 บาร์, อัตราการบริโภคเชื้อเพลิง (ตัน/ปี/เมกะวัตต์) 7,300 10,800
3)เชื้อเพลิงที่ประหยัดได้ (ตัน/ปี/เมกะวัตต์) 1,800 2,700
4)ประหยัดค่าเชื้อเพลิง@750 บาท/ตัน (ล้านบาท/ปี/เมกะวัตต์) 1.35 2.0
5)รวมประหยัดค่าเชื้อเพลิง (ล้านบาท/20ปี/เมกะวัตต์) 27.0 40.5

เตาแก๊สชีวมวลประสิทธิภาพสูง

เตาแก๊สชีวมวลประสิทธิภาพสูง article


 
เป็นเตาที่ออกแบบมาใช้งานในครัวเรือน  มีขนาดกะทัดรัด  มีคุณลักษณ์พิเศษดังต่อไปนี้
  • ใช้เชื้อเพลิงได้หลายหลากมากชนิด  ไม่ว่าจะเป็นไม้ฟืน  ใบไม้  กิ่ง-ก้านต้นไม้  ซังข้าวโพด  ฟางข้าว  หรือเส้นใยพืช  ตลอดจนมูลสัตว์แห้ง ล้วนนำมาใช้เป็นเชื้อแพลิงได้ทั้งสิ้น  อีกทั้งยังไม่จำเป็นต้องสับซอยให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยแต่อย่างใด  ขอเพียงแค่อย่าให้มีขนาดความยาวเกินกว่า 30 เซนติเมตร  ก็เป็นอันใช้ได้
  • ประหยัดทั้งเชื้อเพลิงและค่าใช้จ่าย  เตาแก็ส ไบโอแมส ชนิดนี้สามารถยืดเวลาการเผาไหม้ออกไปได้เป็นเวลานานกว่าปกติ  ให้ปริมาณความร้อนสูง  จากผลการทดสอบเปรียบเทียบการใช้งาน  จากไม้ฟืน 3 กิโลกรัม  เผาไหม้ให้ความร้อนนานถึง  3 – 4 ชั่วโมง  แต่ไม้ฟืนปริมาณเดียวกันนี้เมื่อใช้กับเตาไฟธรรมดา กลับเผาไหม้ให้ความร้อนแค่ 36 นาทีเท่านั้น
  • รูปแบบทันสมัย  จากการใช้เทคโนโลยีใหม่ที่สามารถประหยัดพลังงานจากระบบการเผาไหม้ 2 ขั้นตอน  ให้พลังความร้อนสูง  ปราศจากเขม่าควันไฟ  ทำความสะอาดง่าย
  • ใช้งานได้กว้างขวาง  ใช้ได้ทั้งในอาคารบ้านเรือนทั้งตัวเมืองและชนบท  ตลอดทั้งร้านค้า  ร้านอาหารและแผงลอยทั่วๆไป
  • ลงทุนครั้งเดียว  ซื้อแต่ตัวเตา  ส่วนเชื้อเพลิงนั้นสามารถเก็บหาได้จากแหล่งธรรมชาติโดยไม่ต้องซื้อหาให้เปลืองเงิน

ขนาดโรงไฟฟ้าชีวมวล

พลังงานทดแทน   พลังงานทางเลือกแก้วิกฤตปัญหาพลังงานโลก  ชีวมวล.....คืออะไร ?  ช่วยชาติด้านพลังงานได้จริงหรือ ? 
ชีวมวล ( Biomass ) คือ สารอินทรีย์ที่เป็นแหล่งกักเก็บพลังงานจากธรรมชาติ   สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานได้  เช่น  เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร   หรือกากจากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมทางการเกษตร  เช่นแกรบ  ชานอ้อย  กากปาล์ม  ซังข้าวโพด   กากมันสำปะหลัง  เศษกิ่งไม้ เป็นต้น
ต้นแบบโงงานผลิตไฟฟ้าชุมชน 04.jpg

การผลิตพลังงานทดแทนจาก  ชีวมวล ( Biomass )  โดยทั่วไปมีอยู่   2 วิธีหลักๆ  ดังนี้

  1. การหมัก ( Fermentation ) จะได้ก๊าซมีเทนแต่มีบริมาณที่น้อยและใช้เวลาค่อนข้างนาน
  2. การเผา ( Combustion and Gassification ) สามารถ นำมาผลิตความร้อนได้โดยตรง  หรือได้องค์ประกอบของก๊าชเชื้อเพลิง    ที่มีค่าพลังงานความร้อน  ( Heating value )  สูง   ซึ่งมีความเหมาะสมและเป็นไปได้อย่างยิ่งในการนำมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า
โรงไฟฟ้าชุมชน ความมั่นคงทางด้านพลังงานทางเลือกใหม่ของประเทศ  !   ประชากร ส่วนใหญ่ของประเทศประกอบอาชีพเกษตรกรรม   กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ   จึงทำให้มีบริมาณของเหลือใช้ทางการเกษตร  หรือชีวมวลอยู่ทุกแห่ง   เราสามารถของเหลือใช้เหล่านั้นมาเป็นวัตถุดิบผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า   โดยสร้างเป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็กหรือโรงไฟฟ้าชุมชน   ที่เหมาะกับชุมชน   ซึ่งจะส่งผลถึงความมั่นคงทางพลังงานของประเทศอย่างมาก  ซึ่งจะช่วยให้เกิดประโยชน์์กับระดับต่างๆ  ดังนี้ระดับชุมชน
  1. ชาวบ้านในชุมชนมีรายได้จากการขายเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้กับโรงไฟฟ้า
  2. สร้างรายได้จากการปลูกไม้เชื้อเพลิง  เช่น กถินยักษ์  เพื่อจำหน่ายให้กับโรงไฟฟ้า   อันเป็นการส่งเสริมพืชเศริษฐกิจทางเลือกตัวใหม่
ระดับท้องถิ่น
  1. ลดปริมาณขยะที่เป็นของเหลือใช้ทางการเกษตร
  2. ช่วยลดมลภาวะทางอากาศ   จากการเผาทำลายขยะที่เป็นของเหลือใช้ทางการเกษตร
  3. ใช้ประโยชน์จากพื้นที่รกร้างว่างเปล่าโดยการปลูกไม้เชื้อเพลิง
  4. สนับ สนุนให้เกิดการเรียนรู้   ปลูกฝังจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์พลังงานให้กับท้องถิ่น   โดยสามารถจัดให้เป็นสถานที่เรียนรู้    ฝึกอบรมเป็นต้นแบบการการใช้พลังงานทดแทนแก่เยาวชนในท้องถิ่น
  5. เกิดการจ้างงานในท้องถิ่นเพิ่มขึ้น  ลดการอพยพแรงงานเข้าสู่เมือง
ระดับประเทศ
  1. ลดการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศได้นับแสนล้านบาท /ปี
  2. ทดแทนการสร้างโรงงานไฟฟ้าขนาดใหญ่ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนนับหมื่นล้านบาทต่อโรงงาน
  3. ดำเนินตามหลักการและหลักปรัชญาเศริษฐกิจพอเพียง   ตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ขั้นตอนดำเนินการสำรวจ
  1. สำรวจปริมาณวัตถุดิบที่จะนำมาทำเชื้อเพลิงในเพื้นที่เป้าหมายว่ามีปริมาณทีเพียงพอและเหมาะสมหรือไม่
  2. วิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ว่ามีความเหมาะสมแก่การลงทุนหรือไม่และมีระยะเวลาคืนทุนเท่าไหร่
  3. กำหนดรูปแบบเทคโนโลยี่ที่เหมาะสมกับชุมชนและเชื้อเพลิงที่มี   สำรวจความคิดเห็น
  4. ดำเนินการก่อสร้าง   ติดตั้งเครื่องจักร   และเชื่อมต่อระบบไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย  ( กฟผ ) การไฟฟ้า นครหลวง ( กฟน ) หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค  ( กฟภ )
  5. ฝึกอบรมบุคลากรให้ สามารถควบคุบดูแลการผลิตกระแสไฟฟ้าและบริหารการจัดการพลังงานหรือเชื้อเพลิง ได้   และบริการข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นแก่การประกอบธุรกิจผลิตพลังงานไฟฟ้าแก่ สมาชิก
เปรียบเทียบต้นทุนค่าพลังงานของโรงไฟฟ้าแบบต่างๆเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของพลังงานแสงอาทิตย์  พลังงานชีวมวล และพลังงานจากกังหันน้ำ การคำนวณต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของพลังงานหมุนเวียนและพลังงานทดแทนตามอายุ โครงการการลงทุนระยะเวลา 10 ปี และ 15 ปี ปรากฏผลดังนี้


  1. การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานจากแสงอาทิตย์ราคาหน่วยละ 11.2744 และ 8.5289 บาท/กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง
  2. การผลิตไฟฟ้าพลังงานจากกังหันน้ำราคาหน่วยละ 2.4042 และ 1.9831 บาท/กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง
  3. การผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวลราคาหน่วยละ 1.445 บาท/กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง

ชีวมวล:อีกทางเลือกหนึ่งของพลังงาน

ในระบบเศรษฐกิจทุนนิยมของไทยที่มุ่งเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลักนั้น ความต้องการพลังงานเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อนำไปใช้ในระบบการผลิต การขนส่ง และกิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน

สิ่งหนึ่งที่ทุกประเทศต้องใช้ในการแลกเปลี่ยนกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ คือ การสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานที่หมดไปเรื่อยๆ พร้อมกันกับคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่แย่ลง

ในอดีต การใช้พลังงานทั่วโลกต่างมุ่งเน้นไปที่ พลังงานเชิงพาณิชย์ เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือ ถ่านหิน ซึ่งพลังงานเหล่านี้ นอกจากจะสร้างมลพิษในปริมาณที่สูงมาก (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ่านหิน) แล้ว ยังเป็นพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป (Depleted energy) การที่จะนำประเทศไปพึ่งพิงเฉพาะพลังงานประเภทนี้เป็นหลักนั้นสามารถทำได้ในทางปฏิบัติ พร้อมกับการรณรงค์ให้มีจิตสำนึกประหยัดพลังงาน และต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาการใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewable energy) ไปควบคู่กัน

·         พลังงานหมุนเวียนและพลังงานจากชีวมวล
พลังงานหมุนเวียนในโลกนี้ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทหลัก ดังนี้
(1) พลังงานหมุนเวียนที่มาจากแสงอาทิตย์โดยตรง ซึ่งคือ พลังงานแสงอาทิตย์
(2) พลังงานหมุนเวียนที่มาจากแสงอาทิตย์โดยอ้อม เช่น พลังงานลม, คลื่น, หรือ ชีวมวล(และชีวภาพ)
(3) พลังงานหมุนเวียนที่ไม่เกี่ยวข้องกับแสงอาทิตย์ เช่น พลังงานใต้พิภพ, น้ำขึ้น-น้ำลง

          พลังงานทั้งสามประเภท ต่างมีศักยภาพที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ สำหรับในประเทศไทยนั้น นอกเหนือจากพลังงานจากแสงอาทิตย์แล้ว พลังงานชีวมวลจัดได้ว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ และที่สำคัญคือ มีศักยภาพสูงมากอีกด้วย

          ชีวมวล (Biomass) คือสารทุกรูปแบบที่ได้มาจากสิ่งมีชีวิต โดยไม่นับการกลายเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลไปแล้ว เช่น สิ่งที่ได้หรือเหลือใช้จากการเกษตร (เช่น แกลบ ชานอ้อย ฟางข้าว), ขยะมูลฝอย, น้ำเสียจากโรงงาน หรือ แม้กระทั่งมูลสัตว์ต่างๆ  มีรายงานว่า พลังงานชีวมวลนี้มีสัดส่วนการใช้คิดเป็น 14.7% ของพลังงานรวมของโลก ประมาณกันว่า ประชากรกว่า 40% ของประชากรโลก อาศัยชีวมวลในการหุงต้มและให้ความอบอุ่น และหากพิจารณาเฉพาะปริมาณการใช้ในประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลกนั้น การใช้พลังงานชีวมวลจะมีสัดส่วนที่ 38.1% ของการใช้พลังงานทั้งหมด โดยมีจีนและอินเดีย เป็นประเทศผู้ใช้หลัก

          สำหรับในประเทศไทยนั้น ข้อมูลล่าสุดคือในปี พ.ศ. 2545 ทางกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้รายงานว่าสัดส่วนการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายของพลังงานเชิงพาณิชย์ต่อพลังงานชีวมวล อยู่ที่ประมาณ 83:17 ซึ่งลดลงจาก 10 ปีก่อน ซึ่งมีสัดส่วนอยู่ที่ประมาณ 70:30 นั่นหมายความว่า เรามีการใช้พลังงานชีวมวลในสัดส่วนที่น้อยลงอย่างมาก แต่กลับไปใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศในสัดส่วนที่มากขึ้น เป็นสาเหตุให้มูลค่าการนำเข้าพลังงานของประเทศสูงขึ้นทุกปี โดยในปี 2545 คิดเป็นมูลค่าถึง 336,388 ล้านบาท (85% ใช้ไปกับการซื้อน้ำมันดิบ)

          คำถามที่ตามมาคือ เราจะสามารถเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานชีวมวลได้ในทางใดบ้าง และในปริมาณที่มากน้อยเพียงใด

·         ศักยภาพของพลังงานชีวมวล
          ทาง พพ. ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักของประเทศในด้านพลังงานหมุนเวียน ได้ทำการสำรวจศักยภาพของวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรของพืช 10 ชนิดหลักของประเทศ โดยได้พิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการเก็บหรือนำวัสดุเหล่านั้นกลับมาใช้ตามสภาพความเป็นจริง พบว่า ในปี 2543 ประเทศไทยมีปริมาณวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรรวม 63 ล้านตัน  และมีการนำไปใช้งานเป็นเชื้อเพลิงและอื่นๆเพียง 16 ล้านตันเท่านั้น ส่วนที่ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้และมีศักยภาพในการให้พลังงานนั้นมีสูงถึง 42 ล้านตัน และหากนับรวมถึงก๊าซชีวภาพที่ได้จากมูลสัตว์ ขยะ และน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม มาประกอบการประเมิน และได้คิดเผื่อถึงความเป็นไปได้ทุกอย่างในการนำพลังงานกลับมาใช้จริงแล้ว พบว่า ในปี 2543 เพียงปีเดียว ประเทศไทยมีศักยภาพของพลังงานชีวมวลถึง 650 เพตาจูล

ตัวเลขในเชิงพลังงานนี้อาจดูไม่คุ้นเคยนัก แต่หากเปลี่ยนตัวเลขนี้เป็นปริมาณพลังงานที่ได้จากน้ำมันดีเซล ตัวเลขนี้เทียบเท่ากับพลังงานความร้อนที่ได้จากน้ำมันดีเซลหมุนเร็วปริมาณ 17,850 ล้านลิตร เลยทีเดียว (ในปี 2545 ไทยใช้น้ำมันดีเซลทั้งปีรวม 15,970 ล้านลิตร)

          โดยส่วนเหลือจากอ้อย เช่นชานอ้อยหรือยอดและใบอ้อย แกลบและฟางข้าว และส่วนเหลือของปาล์มน้ำมัน เช่นกะลา ทะลาย หรือเส้นใยปาล์ม จัดเป็นกลุ่มชีวมวลที่มีสัดส่วนสูงที่สุด คิดเป็น 85% ของศักยภาพชีวมวลทั้งหมดของประเทศ

          แล้วชีวมวลที่มีเหลือมากมายนี้ จะไปใช้ประโยชน์อย่างไรได้บ้าง
          โดยทั่วไปแล้ว การนำชีวมวลไปใช้มี 2 ประเภทคือ
หนึ่ง นำไปใช้เพื่อให้ได้มาซึ่งพลังงานความร้อน เช่น การนำฟืนไปใช้ในเตาอั้งโล่ของชาวบ้าน หรือ การนำเศษไม้ที่เหลือจากการผลิตของโรงงานทำไม้ไปใช้ในหม้อไอน้ำเพื่อให้ได้ไอน้ำไปใช้ในการอบไม้ และ
สอง นำชีวมวลไปใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า เช่น โรงน้ำตาลใช้กากอ้อยที่ได้จากการหีบอ้อยเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า หรือ โรงสีขนาดใหญ่ที่ใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า เป็นต้น

          ในประเภทแรกนั้น ไทยได้นำชีวมวลไปใช้ในสร้างพลังงานความร้อนมาเป็นระยะเวลานานแล้วในระดับครัวเรือน โดย ฟืน และถ่าน จัดเป็นชีวมวลสองชนิดที่มีปริมาณการใช้สูงสุดในภาคครัวเรือนของไทย ส่วนในภาคอุตสาหกรรมนั้น กากหรือชานอ้อยและแกลบ จัดเป็นชีวมวลที่มีปริมาณการใช้สูงสุดในการผลิตพลังงานความร้อน ทั้งนี้ ศักยภาพการใช้พลังงานในระดับครัวเรือนยังมีอีกสูงมาก เพียงแต่ชาวบ้านยังขาดความเข้าใจในวิธีการใช้และเก็บรักษาที่ถูกต้อง ชีวมวลบางประเภทเช่น ฟืนหรือถ่าน จะมีคุณสมบัติด้านความร้อนที่ต่ำลงมาก หากมีการเก็บรักษาที่เหมาะสม นอกจากนี้ ชาวบ้านยังไม่ทราบถึงวิธีการนำชีวมวลไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ส่วนใหญ่ยังนำฟืน หรือ ถ่านไปใช้ในเตาอั้งโล่แบบเก่า ซึ่งมีการสูญเสียความร้อนสูงมาก จะทำให้สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงชีวมวลมากเกินความจำเป็น

          การแก้ปัญหานี้ ทางรัฐบาลควรทำการประชาสัมพันธ์หรือแนะนำ การนำชีวมวลไปใช้อย่างถูกต้องแก่ชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการฝึกอบรมผ่าน อบต. หรือ การโฆษณาทางสื่อต่างๆเป็นระยะๆ มีการรณรงค์จำหน่ายอุปกรณ์ชีวมวลประสิทธิภาพสูง (เช่นเตาประสิทธิภาพสูง) ให้แก่ชาวบ้านในราคาที่ต่ำ เป็นต้น
          ในประเภทที่สอง การนำชีวมวลไปผลิตไฟฟ้ายังจำกัดเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมประเภทที่ใช้กากอ้อยและแกลบเป็นเชื้อเพลิงหลัก แม้ว่าแท้จริงแล้ว ประเทศยังมีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลอีกมาก ดังแสดงในตารางประกอบ ซึ่งแสดงถึงศักยภาพของชีวมวลของไทยในการผลิตไฟฟ้าเป็นค่าเฉลี่ยรายปีระหว่างปี 2542-2545 โดย พพ. พบว่า หากมีการนำชีวมวลที่เหลือใช้เหล่านี้กลับไปใช้เป็นพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพได้นั้น คาดว่าประเทศไทยจะมีกำลังผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ประมาณ 14,000 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี (14,000 ล้านหน่วย) หรือเปรียบได้กับมีโรงไฟฟ้าขนาด 1,800 MW เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งแห่ง

ด้วยขนาดเท่านี้ อาจจะหมายถึงประเทศสามารถรองรับการขยายตัวของการใช้ไฟฟ้าของประเทศได้อีกถึงหนึ่งปีครึ่ง เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น ปัจจุบัน เขื่อนภูมิพลมีกำลังการผลิตสูงสุดที่ 743.8 MW และโรงไฟฟ้าแม่เมาะมีกำลังผลิตรวม 2,625 MW ซึ่งจากตัวเลขทั้งหมด จะเห็นได้ว่า การนำชีวมวลที่เหลือจากการเกษตรมาผลิตไฟฟ้านั้น เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ โดยเฉพาะในระหว่างที่ประเทศมีแนวโน้มที่จะขาดแคลนไฟฟ้าในอนาคต เพราะการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลทำได้ลำบาก ขณะที่โรงไฟฟ้าชีวมวลมีศักยภาพสูงที่จะผลิตและใช้ได้ในพื้นที่ และยังสามารถสร้างกระจายตามพื้นที่ต่างๆ ได้ทั่วประเทศตามแหล่งผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลนั้นๆ

ศักยภาพชีวมวลของไทยในการผลิตไฟฟ้า (ค่าเฉลี่ยรายปีระหว่างปี 2542-2545)
ชนิด
ปริมาณเหลือใช้
ปริมาณใช้ได้จริง
ค่าพลังงาน
ขนาดโรงไฟฟ้า (ประมาณ)

ล้านตันต่อปี
ล้านตันต่อปี
ล้านล้านจูลต่อปี
MW
ฟางข้าว
10.84
7.42
75,952
549.66
แกลบ
5.58
2.62
37,320
270.08
ต้นและใบอ้อย
15.29
7.64
66,510
481.33
ชานอ้อย
12.74
1.27
10,588
76.63
เศษกิ่งไม้ยางพารา
9.40
4.53
38,966
282.00
เหง้ามันสำปะหลัง
3.15
1.58
14,197
102.75
ผลิตภัณฑ์จากปาล์ม
1.37
0.82
6,854
49.60
รวม
58.38
25.88
250,387
1,812.05
ที่มา: กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ยกเว้น ข้อมูลปริมาณเหลือใช้ จาก สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร  
         กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

·         ข้อดีและข้อเสีย
ชีวมวลเป็นพลังงานที่มาจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่ไม่มีวันหมดไป เพราะวงจรการผลิตชีวมวลคือวงจรของพืชที่มีระยะเวลาสั้น ต่างจากน้ำมันหรือถ่านหินที่ต้องอาศัยการทับถมกันเป็นเวลาหลายล้านปี นอกจากนี้ ชีวมวลสามารถผลิตได้ภายในประเทศ เกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายชีวมวลสู่ผู้ใช้ และยังช่วยลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศได้อีกด้วย

ข้อดีที่สำคัญทางสิ่งแวดล้อมคือ การใช้ชีวมวลในการผลิตความร้อนหรือไฟฟ้าจะไม่เพิ่มปริมาณสุทธิของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลก ในกรณีที่เรามีการผลิตชีวมวลขึ้นมาเพื่อทดแทนชีวมวลที่ได้ใช้ไป เพราะจะทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถูกหมุนเวียนมาใช้ในชีวมวลที่ผลิตใหม่เท่ากับปริมาณก๊าซที่ถูกผลิตจากการเผาไหม้ชีวมวลนั้นๆ เนื่องจากพืชต้องหายใจเพื่อเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปใช้ในการเจริญเติบโต อีกทั้งชีวมวลยังมีปริมาณกำมะถันต่ำกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิลมาก นั่นหมายถึง การใช้ชีวมวลจะลดโอกาสในการเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse effect) ซึ่งตรงข้ามกับการใช้น้ำมันในภาคขนส่ง หรือถ่านหินในโรงไฟฟ้า

แต่เมื่อมีข้อดี ชีวมวลก็ย่อมมีข้อเสีย ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ชีวมวลมีการเก็บรักษาและการขนส่งที่ยาก และมีความเสี่ยงสูงในการจัดหาหรือรวบรวมปริมาณชีวมวลที่ต้องการใช้ให้คงที่ตลอดปี เพราะชีวมวลบางประเภทเช่นกากอ้อยมีจำกัดเพียงบางเดือน อีกทั้งชีวมวลทุกประเภทต่างต้องการพื้นที่ในการเก็บรักษาขนาดใหญ่กว่าเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น หากต้องการปริมาณความร้อนที่เท่ากัน จะต้องใช้แกลบในปริมาณที่มากกว่าน้ำมันเตา เป็นต้น ดังนั้น การพัฒนาระบบวิธีการจัดเก็บและขนส่งจึงสำคัญและจำเป็นมาก

นอกจากนี้ ราคาไฟฟ้าที่รัฐบาลรับซื้อมาจากโรงไฟฟ้าชีวมวล หรือที่เรียกว่าผู้ผลิตรายเล็ก (SPPs: Small power producers) นั้น ยังไม่ดึงดูดใจในการลงทุนมากนัก เรื่องนี้ สามารถจัดการได้ด้วยการรณรงค์ให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตไฟฟ้า ด้วยราคารับซื้อที่ดึงดูดให้น่าลงทุนมากขึ้น โดยใช้หลักการคำนวณต้นทุนทางสังคมและสิ่งแวดล้อม (Social and environmental cost) เข้าไปในราคารับซื้อไฟฟ้าด้วย และสร้างระบบประกันราคาชีวมวลเพื่อลดความเสี่ยงของการขาดแคลนชีวมวลในบางฤดูให้ลดต่ำลง 

·         สรุป
ไม่จำเป็นเสมอไปที่ประเทศจะต้องพึ่งพาเทคโนโลยีพลังงานลมหรือแสงอาทิตย์ ที่ยังคงมีต้นทุนต่อหน่วยสูง หรือ การสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนจากถ่านหินแห่งใหม่ที่ปล่อยมลพิษในระดับที่สูงขณะผลิตไฟฟ้า ในปัจจุบัน พลังงานจากชีวมวลที่ประเทศมีเหลือใช้อยู่มากนั้น สามารถนำมาใช้เป็นพลังงานความร้อนและผลิตไฟฟ้าได้ ด้วยราคาที่ไม่สูงจนเกินไปนัก ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ำมาก และยังสามารถเสริมรายได้ให้แก่เกษตรกรในท้องถิ่นได้อีกด้วย


Project Information


Plant Location: Roi-Et, Thailand
Plant Type: Power Plant
Fuel Supply:
Rice husk from the Owner’s rice mills will provide fuel for the 6MW power plant
Plant Objective:
To generate 6.0MW (gross) electricity output for client's domestic consumption and power plant's parasitic load

   
Power Requirements
   
Internal Consumption :
Rice Mill Consumption :
Power To Grid :
Power Required :
   500 kW
3,000 kW
2,500 kW
6,000 kW
Power Plant Design
   
Fuel Type:
Plant Type:
Boiler:
Gross Electrical Output:
          
Steam Turbine Generator:        

Plant's Operating Conditions:   
Rice husk
Power Plant
1 unit of 35 tons/hr indoor rice husk fired steam boiler
6 MW
1 unit of 6MW fully condensing steam turbine generator system
37 bara, 435 °C