ผู้ผลิตไฟฟ้าโดยใช้ชีวมวลเป็นเชื้อเพลิง สามารถที่จะเลือกขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ. - www.egat.co.th ) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ. - www.pea.co.th) หรือ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน. - www.mea.or.th) แหล่งใดแหล่งหนึ่ง
1. การรับซื้อไฟฟ้าของกฟผ.
ระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าที่จะกล่าวถึงนี้ เป็น "ระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายเล็ก ที่ใช้กาก หรือเศษวัสดุเหลือใช้เป็นเชื้อเพลิง" ของ กฟผ. ฉบับเดือนมกราคม 2541 และประกาศเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2544 สรุปสาระสำคัญไว้ดังนี้
กฟผ. ได้แบ่งประเภทการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าเอกชนออกเป็น 2 ประเภทขึ้นอยู่กับปริมาณและเงื่อนไขที่รับซื้อคือ
ก. ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ หมายถึงผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนที่เสนอขายไฟฟ้าให้ กฟผ.ตามข้อกำหนดที่ กฟผ. เชื้อเชิญให้ เอกชนยื่นข้อเสนอโครงการโรงไฟฟ้า ทั่วไปเป็นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ใช้แก๊สธรรมชาติ หรือถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง
ข. ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก หมายถึงผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนที่ขายไฟฟ้าให้กฟผ.ไม่เกิน 60 เมกกะวัตต์ แบ่งออกเป็น 4 แบบตามลักษณะของเชื้อเพลิง ซึ่งจะได้รับค่ากำลังไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้า ต่างกันคือ
- ใช้แก็สธรรมชาติ
- ใช้น้ำมันเตา
- ใช้ถ่านหิน
- ใช้ชีวมวล พลังงานลม, พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานน้ำขนาดเล็ก
1.1. การยื่นคำร้องขายไฟฟ้า
การยื่นคำร้องขายไฟฟ้าให้กฟผ. ผู้ผลิตจะต้องกรอกแบบ กฟผ. รฟ-1 โดยมีรายละเอียดข้อมูล ที่สำคัญดังต่อไปนี้
- หลักฐานการจดทะเบียนนิติบุคคล และหนังสือบริคณห์สนธิของนิติบุคคล
- แผนผังแสดงที่ตั้งของโรงไฟฟ้า
- สถานที่ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
- ลักษณะกระบวนการผลิตไฟฟ้า
- ปริมาณพลังงานความร้อนที่ใช้ในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ต่อพลังงานที่ผลิตได้ทั้งหมด
- รายละเอียดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและเครื่องต้นกำลังพร้อมข้อกำหนดทางเทคนิค
- แผนภูมิระบบไฟฟ้าและระบบป้องกันที่จะต่อเชื่อมกับระบบของการไฟฟ้าฯ
- ปริมาณพลังไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้า ที่จะขาย
- ระยะเวลาสัญญาที่ผู้ผลิตจะผลิตและจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบของการไฟฟ้า
- ปริมาณพลังไฟฟ้าสำรองที่ผู้ผลิตต้องการขอใช้จากการไฟฟ้า
- จำนวนผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า วุฒิการศึกษา และ ใบอนุญาตเป็นผู้-ประกอบอาชีพวิศวกรรม
- ปริมาณของเชื้อเพลิงที่ใช้ต่อปีและค่าความร้อนเฉลี่ยของเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตในการผลิต ไฟฟ้าหรือใช้ในระบบ
1.2. หลักเกณฑ์การพิจารณาการรับซื้อไฟฟ้า
กฟผ. ได้กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาการรับซื้อไฟฟ้าไว้ดังนี้
- ความเหมาะสมของโครงการด้านเทคนิคและวิศวกรรม
- ประสบการณ์ของผู้ยื่นคำร้อง ผู้ร่วมทุน บริษัทแม่ของผู้ลงทุน
- ความพร้อมทางด้านการเงินและความพร้อมของแหล่งรายได้ของโครงการซึ่งรวมถึงลูกค้าไฟฟ้า และลูกค้าไอน้ำ
- ความเชื่อถือได้ของการจัดหาเชื้อเพลิง
- ความเหมาะสมของการสำรองเชื้อเพลิงและการขนส่งเชื้อเพลิง
- ความเหมาะสมของสถานที่ตั้งโครงการในด้านความมั่นคงในระบบไฟฟ้าและการเชื่อมโยงเข้าระบบของการไฟฟ้า
- ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและ การยอมรับของประชาชน ในท้องถิ่นรวมทั้งผลประโยชน์ที่ จะเกิดต่อเนื่องจาก โครงการ
- วันเริ่มต้นซื้อขายไฟฟ้าโดยพิจารณาจากเวลาก่อนหลัง
- การขอแก้ไขสัญญาซื้อขายไฟฟ้าต้นแบบ
1.3. เงื่อนไขการรับซื้อไฟฟ้า
เงื่อนไขการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตที่สำคัญมีดังนี้
- กฟผ.เป็นผู้รับซื้อแต่ผู้เดียว
- ผู้ผลิตจะต้องได้รับอนุญาตหรือมีหนังสือรับรองการอนุญาตให้ก่อสร้างโรงงาน ติดตั้งเครื่อง กำเนิดไฟฟ้าหรือผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยต้องนำมาแสดงภายใน 18 เดือน หลังทำสัญญา ซื้อขายและก่อนเริ่มจำหน่าย
- การไฟฟ้าสงวนสิทธิ์เป็นผู้กำหนดวันเริ่มรับซื้อไฟฟ้า
- ในวันลงนามสัญญาซื้อ-ขายไฟฟ้า ผู้ผลิตจะต้องยื่นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา ในวงเงินเป็นจำนวนเท่ากับร้อยละ 5 ของมูลค่าพลังไฟฟ้าที่จะได้รับทั้งหมดตามสัญญา โดยใช้ส่วนลดเท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนของธนาคารกรุงไทย การไฟฟ้า จะคืนหลักประกันเมื่อผู้ผลิตได้เริ่มต้นปฏิบัติตามสัญญาแล้ว
1.4. อัตราการรับซื้อไฟฟ้า
ดูประกาศจาก กฟผ.
Download : กฏระเบียบการรับซื้อไฟฟ้า
2. การรับซื้อไฟฟ้าของกฟภ. หรือ กฟน.
ระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าที่จะกล่าวถึงนี้ เป็น "ระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กมาก" ซึ่งทางกฟภ. หรือ กฟน. จะรับซื้อโดยมีปริมาณพลังไฟฟ้า 1-10 เมกกะวัตต์
2.1. ขั้นตอนและหลักการพิจารณาการรับซื้อไฟฟ้า
1. ยื่นแบบคำขอจำหน่ายไฟฟ้าและการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้า ณ ที่ทำการสำนักงานเขตของ กฟน. หรือที่ทำการสำนักงานจังหวัดของ กฟภ.
2. การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายพิจารณารับซื้อไฟฟ้า
3. การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายแจ้งผลการพิจารณารับซื้อไฟฟ้าเป็นลายลักษณ์อักษรภาย ใน 45 วัน นับจากวันที่การไฟฟ้า ฝ่ายจำหน่ายได้รับข้อมูลประกอบการพิจารณาครบถ้วน และแจ้งรายละเอียดค่าใช้จ่ายให้ทราบภายใน 15 วัน นับจากวัน แจ้งผลการพิจารณารับซื้อไฟฟ้า
4. ทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าภายใน 60 วัน นับจากวันที่การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายแจ้งผลการพิจารณารับซื้อไฟฟ้า
5. ผู้ผลิตไฟฟ้าแจ้งความประสงค์จะจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ
6. การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายตรวจสอบการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้า และอุปกรณ์ที่ติดตั้ง ว่าเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน ยกเว้นกรณีที่ผู้ผลิตไฟฟ้าเป็นผู้ใช้ไฟรายใหม่ ให้การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายดำเนินการตามระเบียบปฏิบัติของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย
7. จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ
2.2 อัตราการรับซื้อไฟฟ้า
จะคิดเฉพาะพลังงานไฟฟ้าในอัตราขายส่งเฉลี่ยที่ กฟผ. ขายให้ กฟภ. และ กฟน. รวมกับค่า Ft ขายส่งเฉลี่ย ณ เดือน
ระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าที่จะกล่าวถึงนี้ เป็น "ระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กมาก" ซึ่งทางกฟภ. หรือ กฟน. จะรับซื้อโดยมีปริมาณพลังไฟฟ้า 1-10 เมกกะวัตต์
2.1. ขั้นตอนและหลักการพิจารณาการรับซื้อไฟฟ้า
1. ยื่นแบบคำขอจำหน่ายไฟฟ้าและการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้า ณ ที่ทำการสำนักงานเขตของ กฟน. หรือที่ทำการสำนักงานจังหวัดของ กฟภ.
2. การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายพิจารณารับซื้อไฟฟ้า
3. การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายแจ้งผลการพิจารณารับซื้อไฟฟ้าเป็นลายลักษณ์อักษรภาย ใน 45 วัน นับจากวันที่การไฟฟ้า ฝ่ายจำหน่ายได้รับข้อมูลประกอบการพิจารณาครบถ้วน และแจ้งรายละเอียดค่าใช้จ่ายให้ทราบภายใน 15 วัน นับจากวัน แจ้งผลการพิจารณารับซื้อไฟฟ้า
4. ทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าภายใน 60 วัน นับจากวันที่การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายแจ้งผลการพิจารณารับซื้อไฟฟ้า
5. ผู้ผลิตไฟฟ้าแจ้งความประสงค์จะจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ
6. การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายตรวจสอบการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้า และอุปกรณ์ที่ติดตั้ง ว่าเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน ยกเว้นกรณีที่ผู้ผลิตไฟฟ้าเป็นผู้ใช้ไฟรายใหม่ ให้การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายดำเนินการตามระเบียบปฏิบัติของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย
7. จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ
2.2 อัตราการรับซื้อไฟฟ้า
จะคิดเฉพาะพลังงานไฟฟ้าในอัตราขายส่งเฉลี่ยที่ กฟผ. ขายให้ กฟภ. และ กฟน. รวมกับค่า Ft ขายส่งเฉลี่ย ณ เดือน
Download : กฎระเบียบ VSPP