พลังงานที่ได้จากชีวมวล กะลาปาล์ม (Biomass Heating Value)

พลังงานที่ได้จาก กะลาปาล์ม ชีวมวล (Biomass Heating Value)

          ชีวมวลแต่ละประเภทจะให้พลังงานจากการเผาไหม้แตกต่างกัน ตามลักษณะองค์ประกอบต่างๆ ของชีวมวลแต่ละชนิด และสัดส่วนความชื้นที่สะสมอยู่ในชีวมวล โดยค่าความร้อนหรือพลังงานที่ได้จากการเผาไหม้ชีวมวล จะแสดงได้เป็น

          1) ค่าความร้อนต่ำ (Low Heating Value, LHV) เป็นค่าพลังงานที่สามารถนำมาใช้ได้จริงจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงชีวมวล ซึ่งได้หักพลังงานส่วนหนึ่งที่ต้องใช้ในการระเหยน้ำที่สะสมอยู่ในชีวมวลออกไประหว่างการเผาไหม้ โดยทั่วไปจะมีหน่วยเป็น กิโลจูล (kJ) ต่อกิโลกรัมชีวมวล (kg) หรือ กิโลแคลอรี (kcal) ต่อกิโลกรัมชีวมวล (kg)

          2) ค่าความร้อนสูง (High Heating Value, HHV) เป็นค่าพลังงานทั้งหมดที่ได้จากการเผาไหม้ชีวมวล มีหน่วยเป็น kJ/kg หรือ kcal/kg

จากการสำรวจคุณลักษณะของชีวมวลประเภทต่างๆ จะได้คุณสมบัติเบื้องต้น และค่าพลังงานความร้อนที่ได้จากชีวมวลแต่ละประเภทดังนี้
คุณสมบัติชีวมวลต่างๆ
Moisture

%
Ash

%
Volatile Matter

%
Fixed Carbon

%
Higher Heating Value

kJ/kg
Lower Heating Value

kJ/kg
แกลบ (Rice Husk) 12.00 12.65 56.46 18.88 14,755 13,517
ฟางข้าว (Rice Straw) 10.00 10.39 60.70 18.90 13,650 12,330
ชานอ้อย (Bagasse) 50.73 1.43 41.98 5.86 9,243 7,368
ใบอ้อย (Cane Trash) 9.20 6.10 67.80 16.90 16,794 15,479
ไม้ยางพารา (Parawood) 45.00 1.59 45.70 7.71 10,365 8,600
เส้นใยปาล์ม (Palm Fiber) 38.50 4.42 42.68 14.39 13,127 11,400
กะลาปาล์ม (Palm Shell) 12.00 3.50 68.20 16.30 18,267 16,900
ทะลายปาล์ม (Empty Fruit Bunch) 58.60 2.03 30.46 8.90 9,196 7,240
ต้นปาล์ม (Palm Trunk) 48.40 1.20 38.70 11.70 9,370 7,556
ทางปาล์ม (Palm Leaf) 78.40 0.70 16.30 4.60 3,908 1,760
ซังข้าวโพด (Corncob) 40.00 0.90 45.42 13.68 11,298 9,615
ลำต้นข้าวโพด (Corn Stalk) 41.70 3.70 46.46 8.14 11,704 9,830
เหง้ามันสำปะหลัง (Tapioca Rhizome) 59.40 1.50 31.00 8.10 7,451 5,494
เปลือกไม้ยูคาลิปตัส (Eucalyptus Bark) 60.00 2.44 28.00 9.56 6,811 4,917
ที่มา: ศูนย์ส่งเสริมพลังงานชีวมวล มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม

นำกะลาเป็นพลังงานทดแทน

รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้ปลูกปาล์มน้ำมัน 5 ล้านไร่ ภายในปี 2552 เพื่อ เตรียมผลผลิตออกมาสำรองในการบริโภคและอุปโภค โดยเฉพาะได้ มุ่งเน้นสู่ภาคอุตสาหกรรมใช้เป็นพลังงานทดแทน
การใช้ประโยชน์จาก ปาล์มนั้น สามารถนำมาใช้ได้ แทบทุกชิ้นทุกส่วนทุกกระบวนการ แม้แต่กับการปศุสัตว์ ดั่งเช่น นายพฤทธินนท์ ฉายากุล ปราชญ์เกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้เอาใบปาล์มมาใช้เป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์
และนอกจากเม็ดปาล์มที่นำไปหีบเอาน้ำมันแล้วทะลายปาล์มนำไปใช้เพาะ เห็ด และอื่นๆได้อีกมากมายหลายอย่างที่น่าสนใจ อีกอย่างคือ กะลาปาล์ม ซึ่งในอดีตทิ้งไปอย่างไร้ค่า ปัจจุบันมีการนำมาทำเป็นวัตถุดิบที่มีมูลค่าเพิ่ม...โดยใช้ เป็นเชื้อเพลิงพลังงานทดแทนน้ำมันเตาได้ไม่แพ้พลังงานจากปิโตรเลียม
นาย อนันต์ มากนุ่น วิศวกรเครื่องกลประจำโรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำ (บ้านพรุ) บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ เป็นผู้หนึ่งที่นำเอากะลาปาล์มมาใช้ประโยชน์ในด้านพลังงานทดแทน และได้รับรางวัลผลงาน ดีเด่นด้านอนุรักษ์พลังงานและพัฒนาพลังงานทดแทน จาก กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ในการแข่งขัน Thailand Energy Awards....เล่าถึงเรื่องนี้ว่า
โรงงานได้ดำเนินการ ผลิตอาหารสัตว์ น้ำโดยใช้เชื้อเพลิงน้ำมันเตาวันละ 12,000 ลิตร ต้มหม้อน้ำผลิตอาหารสัตว์ เป็นต้นกำลังขับเคลื่อนเครื่องจักร ต่อมาเมื่อน้ำมันแพงก็ย่อม เป็นผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เมื่อ 3 ปีที่แล้วจึงได้ดัดแปลงใช้ “กะลาปาล์มมาใช้ทดแทน” การใช้น้ำมันเตา โดย วัตถุดิบกะลาปาล์มทั้งหมดได้มาจากภาคการเกษตรภายในบ้านเรา... เมื่อไม่เพียงพอก็รับซื้อมาจากประเทศเพื่อนบ้าน
เมื่อนำมาเปรียบ เทียบค่าใช้จ่ายกะลาปาล์มมีต้นทุนเพียง 400 บาทต่อการผลิตไอน้ำ 1 ตันไอน้ำ แต่ถ้าใช้น้ำมันเตาต้นทุนอยู่ที่ 850 บาทต่อการผลิตไอน้ำ 1 ตันไอน้ำ ซึ่งจะทำให้ลดต้นทุนการผลิตได้ถึง 350 บาทต่อ 1 ตันไอน้ำ
นายจรัส อัศวชาญชัยสกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการธุรกิจผลิตอาหารสัตว์น้ำภาคใต้ ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของนายอนันต์ มากนุ่น ได้กล่าวเสริมว่า...การใช้กะลาปาล์มมาทดแทนน้ำมันเตา สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานตั้งแต่ปี 2547 ถึง 2549 ได้ประมาณ 32 ล้านบาท
ปัจจัยสำคัญในความสำเร็จคือ ความร่วมมือ และ สร้างความตระหนักของทรัพยากรมนุษย์ในโรงงานอุตสาหกรรม ต้องมีการอบรมพนักงานให้มีความรู้และความเข้าใจพื้นฐาน
และพยายามปลุกจิตสำนึกต่อการประหยัด... ซึ่งมีบทบาทต่อการอนุรักษ์และการพัฒนาพลังงานทดแทนในอนาคต
ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 14 พฤศจิกายน 2550
http://www.thairath.co.th/news.php?section=agriculture&content=68107

ประหยัดพลังงานด้วย "กะลาปาล์ม"



เศษ วัสดุเหลือใช้อย่างกะลาปาล์ม ในอดีตแทบจะไม่มีคุณค่าใดๆ นอกจากใช้เป็นเชื้อเพลิงเล็กๆ น้อยๆ ตามบ้านเรือน หรือทิ้งไปอย่างไร้ประโยชน์ แต่ CPF โรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำบ้านพรุ จังหวัดสงขลา นำกะลาปาล์มกลับมาใช้เป็นเชื้อเพลิงหลักเพื่อผลิตอาหารสัตว์เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา

รางวัลที่วางเรียงรายอยู่บนโต๊ะเกือบ 20 ประเภทได้แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) โรงงานบ้านพรุ จังหวัดสงขลา เป็นเครื่องยืนยันความตั้งใจ มุ่งมั่นในการอนุรักษ์พลังงานได้เป็นอย่างดี อย่างเช่นรางวัลล่าสุด โครงการเปลี่ยนหม้อไอน้ำเป็นแบบใช้เชื้อเพลิงชีวมวลด้วยการนำ กะลาปาล์มมาเป็นเชื้อเพลิง

"ผู้จัดการ" ได้มีโอกาสเดินทางไปเยี่ยมชมโครงการ ตามคำเชื้อเชิญของ CPF เมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยมีจรัส อัศวชาญชัยสกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการธุรกิจผลิตอาหารสัตว์น้ำ และอนันต์ มากนุ่น วิศวกรเครื่องกล ร่วมให้ข้อมูล

โรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำบ้านพรุได้ก่อตั้งเมื่อ 13 ปีที่ผ่านมา มีหน้าที่ผลิตอาหารกุ้งกุลาดำ และอาหารกุ้งขาวจำนวน 24,000 ตันต่อเดือน เพื่อจำหน่ายสินค้าให้กับภาคใต้ตอนล่าง 10 จังหวัด อาทิ กระบี่ พังงา สุราษฎร์ธานี นราธิวาส

กระบวนการผลิตอาหารสัตว์ของโรงงานแห่งนี้จะใช้พลังงานอยู่ 2 ประเภท คือ ไฟฟ้า และน้ำมันเตา โดยน้ำมันเตาจะทำหน้าที่เป็นเชื้อเพลิงให้กับหม้อไอน้ำเพื่อผลิตไอน้ำ และไอน้ำที่ได้มาจะทำหน้าที่นึ่งและอบอาหาร ซึ่งเป็นหนึ่งในขั้นตอนของกระบวนการผลิต

น้ำมันเตาที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง นับวันราคาจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงได้มีการมองหาเชื้อเพลิงชนิดใหม่เพื่อลดค่าใช้จ่าย

ต้นทุนน้ำมันเตาปัจจุบันมีราคา 15 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่กะลาปาล์มมีราคา 2 บาทต่อกิโลกรัม แต่กะลาปาล์มที่นำมาใช้นำเข้ามาจากมาเลเซียทั้งหมด 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะในเมืองไทยมีไม่เพียงพอที่จะใช้ในโรงงาน

ผลการเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ระหว่างปี 2549 และ ปี 2550 พบว่า ปี 2549 มีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานมูลค่า 119 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าเชื้อเพลิง 47 ล้านบาท และค่าไฟฟ้า 72 ล้านบาท ในปี 2550 ค่าใช้จ่ายพลังงานลดลงเหลือ 89 ล้านบาท หรือลดค่าใช้จ่ายได้ 30 ล้านบาท โดยเฉพาะหลังจากที่มาใช้กะลาปาล์มทำให้ลดค่าเชื้อเพลิงได้ 21 ล้านบาท

นอกเหนือจากลดค่าใช้จ่ายอย่างเห็นได้ชัด ในแง่ของสังคม CPF สามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปสู่บรรยากาศได้มากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์

และเพื่อให้มีการประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้น เมื่อต้นปี 2551 ที่ผ่านมา บริษัทได้นำขี้เลื่อยหรือเศษไม้ที่เกิดจากการเลื่อยไม้ นำมาผสมกะลาปาล์มทำให้ลดค่าใช้จ่ายได้อีก 6 ล้านบาท

กะลาปาล์มจึงกลายมาเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไอน้ำตั้งแต่ปี 2549 ที่ผ่านมา

แม้ว่าหม้อไอน้ำที่ใช้กะลาปาล์มจะใช้แทนหม้อไอน้ำมันเตาก็ตาม แต่ด้วยกำลังการผลิต 24 ชั่วโมงใน 7 วัน หม้อไอน้ำมันเตาจึงต้องใช้เป็นเครื่องสำรอง และต้องมีการบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง สร้างโรงงานเพื่อวางเครื่องจักรหม้อไอน้ำเชื้อเพลิงแข็ง มีห้องควบคุมการทำงานตลอด 24 ชั่วโมง จะมีพนักงานดูแล 2 คนต่อ 8 ชั่วโมง เพื่อทำหน้าที่ควบคุมความร้อนของไอน้ำและผสมกะลาปาล์มกับขี้เลื่อย และตักเชื้อเพลิงที่ผสมแล้วทุกๆ 1 ชั่วโมง ลงในเครื่องจักรเพื่อให้มีความร้อนผลิตไอน้ำได้ตลอดเวลา

ภายในโรงงานยังทำหน้าที่จัดเก็บกะลาปาล์ม และขี้เลื่อย ซึ่งโรงงานจะต้องใช้กะลาปาล์ม 70,000 ตันต่อปี และขี้เลื่อย 2,500 ตันต่อปี

นโยบายการผลิตพลังงานของ CPF ไม่ได้หยุดยั้งเพียงเท่านี้ เพราะตอนนี้กำลังมีแผนต่อยอด ด้วยการแสวงหาเชื้อเพลิงชนิดใหม่เข้ามาลดค่าใช้จ่าย "ทะลายปาล์ม" กำลังเป็นเป้าหมายใหม่ที่จะนำมาผสมกับกะลาปาล์มที่มีอยู่ในปัจจุบัน หลังจากที่พบว่า ค่าความร้อนใกล้เคียงกับกะลาปาล์ม แต่มีราคาถูกกว่า หรือ 1.3 บาทต่อกิโลกรัม

เป้าหมายการประหยัดพลังงานของกลุ่มซี.พี.ที่ธนินท์ เจียรวนนท์ เคยกล่าวเมื่อ 4 ปีที่ผ่านมาบริษัทในกลุ่มซี.พี.กำลังเกิดผลอย่างเห็นได้ชัด และโรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำบ้านพรุก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของกลุ่มซี.พี.ที่ จริงจังในการใช้พลังงานทดแทน จนได้รับรางวัลมาอย่างต่อเนื่อง  
 อ้างอิง http://www.gotomanager.com

โครงการเปลี่ยนหม้อไอน้ำจากเชื้อเพลิงน้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงแข็ง (กะลาปาล์ม)

โรงงานอาหารสัตว์น้ำบ้านพรุ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ มุ่งมั่นที่จะผลิตสินค้า ที่ได้มาตรฐานในทุกๆด้าน ทั้งคุณภาพการผลิต การจัดการสิ่งแวดล้อม และการประหยัดพลังงาน โดยเน้นการใช้ ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและการป้องกันมลพิษ ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาบุคลากร ให้มีจิตสำนึกที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม โดยรวมและมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ จึงได้จัดตั้งคณะกรรมการระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม และคณะอนุกรรมการ อนุรักษ์พลังงาน เพื่อทำหน้าที่หาแนวทางและเทคโนโลยี ที่จะนำมาดำเนินการอนุรักษ์ พลังงานในทุกขอบเขตที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยได้ดำเนินงานโครงการด้านการอนุรักษ์พลังงานมาตั้งแต่ปี 2547 - 2549 รวมทั้งสิ้น 31 โครงการ มีผลประหยัดคิดเป็นมูลค่ารวม 31.84 ล้านบาทต่อปี และยังช่วยลดการปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่สภาพแวดล้อมได้ถึง 3.298 ล้านกิโลกรัม ทั้งนี้ ได้กำหนดทิศทางการประหยัดพลังงาน ตามหลัก 3M3R โดย 3M คือนำสิ่งใหม่ที่ดีกว่ามาทดแทน ได้แก่ New Material ,New Method ,New Machine (technology) และ 3R คือ Reuse, Reduce, Recycle เพื่อให้เกิดการประหยัดพลังงานที่ดีขึ้น โดยไม่มีการลดคุณภาพและประสิทธิภาพการทำงานแต่อย่างใด
ส่วนโครงการเปลี่ยนหม้อไอน้ำจาก เชื้อเพลิงน้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงแข็ง (กะลาปาล์ม) นั้น เกิดจากแต่เดิมโรงงาน จะใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไอน้ำ ซึ่งในแต่ละเดือนจะต้องใช้น้ำมันเตาจำนวนมากถึงกว่า 3 แสนลิตร คิดเป็นมูลค่าสูงถึงประมาณ 40 ล้านบาท แต่เมื่อน้ำมันเตามีราคาสูงขึ้นจากเดิมลิตรละ 7 บาท เป็น 14-15 บาท ต่อลิตรในปัจจุบัน ทำให้โรงงานต้องทำการศึกษา เพื่อหาเชื้อเพลิงชนิดอื่นที่มีต้นทุนต่ำกว่า และสามารถทดแทน น้ำมันเตาได้ และพบว่า กะลาปาล์ม มีคุณสมบัติดังกล่าว จึงได้ดำเนินการติดตั้งหม้อไอน้ำเชื้อเพลิงแข็ง โดยใช้ กะลาปาล์มเป็นเชื้อเพลิงจนแล้วเสร็จเมื่อเดือนธันวาคม 2549 ทำให้สามารลดต้นทุนจากเดิมที่ต้องใช้น้ำมันเตา 850 บาทต่อการผลิตไอน้ำ 1 ตันไอน้ำ เหลือเพียง 400 บาทต่อการผลิตไอน้ำ 1 ตันไอน้ำ จากการใช้กะลาปาล์ม กล่าวคือลดต้นทุนได้ถึง 350 บาทต่อตันไอน้ำ (ลดลง 41.18%) ซึ่งแต่ละวันจะใช้กะลาปาล์มประมาณ 30 ตัน ดังนั้นสามารถประหยัดต้นทุนเฉลี่ยปีละ 12-13 ล้านบาท
หากมองในภาพรวมแล้ว การใช้กะลาปาล์มซึ่งเป็นของเหลือใช้ทางการเกษตร (Bio-mass) มาเป็นเชื้อเพลิง ทดแทนในการผลิตไอน้ำ สามารถช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมมากกว่าน้ำมันเตา ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่ได้มาจาก การขุดเจาะ อีกทั้งยังช่วยชาติในการลดการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม การใช้กะลาปาล์ม เป็นเชื้อเพลิง อาจทำให้มีฝุ่นบ้างในพื้นที่ติดตั้งหม้อไอน้ำ แต่ทางโรงงานบ้านพรุได้ตระหนัก ในเรื่องของการจัดการทางด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดี จึงทำการติดตั้ง Multi-cyclone และ Wet scrubber เพื่อช่วยในการดักกรองฝุ่นที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ได้ทั้งหมด ทำให้ไม่มีปัญหาด้านมลภาวะแต่อย่างใด จากการดำเนินโครงการดังกล่าวได้สำเร็จเป็นอย่างดีทำให้โรงงานอาหารสัตว์น้ำ บ้านพรุ ได้รับรางวัลโรงงาน ควบคุมดีเด่นด้านอนุรักษ์พลังงาน THAILAND ENERGY AWARDS 2007 จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน และรางวัลสถานประกอบการดีเด่นด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานระดับประเทศ จากกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ติดต่อกันถึง 6 ปีซ้อน ตั้งแต่ปี 2544-2549

อ้างอิง http://www.cpfworldwide.com

จำหน่ายกะลาปาล์ม

 มีกะลาปาล์ม สำหรับ ทำเชื้อเพลิง จำหน่าย จำนวนมาก ส่งถึงที่ ตามแต่ตกลง และ เชื้อเพลิงชนิดต่างๆ เช่นไม้อัดแท่ง หรือ ไม้ชนิดต่างๆ น้ำมันเตา และอื่นๆ ลองสอบถามได้ ลองรับ การเปิด L/C (Letter of Credit) และ DLC ,DL/C (Domestic Letter of Credit)
สนใจติดต่อ ขอทราบราคาได้ ที่นี่

Palm kernel Cake

We have Palm cake by specification as below

Moisture > 12% max
Protein > 16% min
Fat > 7% max
Metabolism Energy > 10.0 MJ/kg min
Calcium >  8 g/kg min
Phosphorus > 5 g/kg min

จำหน่ายไม้สับ (ไม้ซิพ)

ต้องการจำหน่ายไม้สับ (ไม้ซิพ)
woodchip wood chip biomass energy จากไม้เบญจพรรณทั่วไป เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง ส่งได้ทุกวันจำนวนมาก , ความชื้นไม่เกิน 40-45% , ขนาดไม่เกิน 2 นิ้ว  ขอทราบราคาได้ ที่นี่