ลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล

 คำเตือน: โปรดศึกษาข้อมูล ด้านล่างก่อน ดูสรุปการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้า ชีวมวล

สรุปการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้า ชีวมวล
VSPP 1 MW จากชีวมวล
ต้นทุนโครงการ
- เครื่องกำเนิดไฟฟ้า 1.2 MW
- Boiler 10-15 ton/h
- งานอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น หม้อแปลง เสาแรงสูง ฯ สวิทต์เกียร์
- งาน piping
- งาน engineering
รวมราคาประมาณต่อโครงการสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 1.2 MW ประมาณ 39-45 ล้านบาท พร้อมการรับประกันการเดินเครื่องขายไฟฟ้า
รายได้จากโครงการ
เครื่องปั่นไฟฟ้าขนาด 1.2 mw
คำนวณจากรับซื้อราคาไฟฟ้า ต่อ ยูนิต ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตที่
3.80 บาท ต่อ ยูนิต (1 Kw/h)
หน่วยไฟฟ้าที่ผลิตได้ 1.2 MW (1,200kw)

คิดเป็นเงินที่ได้รับ(กำไร)
109,440.00 บาท/วัน (1,200x3.8x24)
3,283,200.00 บาท/เดือน (109,440x30)
39,398,400.00 บาท/ปี (3,283,200X12)
***คืนทุนภายใน 1 ปี จากโครงการสร้างโรงไฟฟ้า
สนใจลงทุน ติดต่อเรา ด่วน! คลิ๊กที่นี่


การลงทุน

โรงไฟฟ้าชีวมวลดีกว่าโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานอื่นอย่างไร
การเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานชีวมวล และพลังงานจากกังหันน้ำ การคำนวณต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของพลังงานหมุนเวียนและพลังงานทดแทนตามอายุโครงการการลงทุนระยะเวลา 10 ปี และ 15 ปี ปรากฏผลดังนี้
การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานจากแสงอาทิตย์ราคาหน่วยละ 11.2744 และ 8.5289 บาท/กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง
การผลิตไฟฟ้าพลังงานจากกังหันน้ำราคาหน่วยละ 2.4042 และ 1.9831 บาท/กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง
การผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวลราคาหน่วยละ 1.445 บาท/กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง
ลักษณะและรูปแบบของการลงทุน
ผู้ลงทุนจะต้องจัดตั้งนิติบุคคล 1 โดยมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินธุรกิจผลิตกระแสไฟฟ้า โดยตั้งเป็นโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าระบบ Down Draft Gasifier ขนาดการผลิตต่ำกว่า 1 MKW และจำหน่ายกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ให้กับ กฟผ. หรือ กฟภ. หรือ กฟน. เท่านั้น เพื่อมิให้เกิดความเสี่ยงในการเรียกเก็บเงินค่ากระแสไฟฟ้า
การประกอบธุรกิจโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล สามารถขอรับการสนับสนุนการลงทุนจาก คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI เนื่องจากจัดอยู่ในประเภทธุรกิจเพื่อ “กิจการบริการและสาธารณูปโภค “ในหมวด 7 ข้อ 7.1 2 จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ซึ่งจะได้รับสิทธิและประโยชน์ด้านภาษีอากร ดังนี้
ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรไม่ว่าตั้งอยู่ในเขตใด
ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 8 ปี ไม่ว่าตั้งอยู่ในเขตใด

ขั้นตอนการปฏิบัติการ

ขั้นตอนการนำเชื้อเพลิง
  1. ขั้นตอนการสำรวจการสำรวจเชื้อเพลิง
  2. การทำประชาคม
  3. ขั้นตอนการขออนุญาตก่อสร้าง
  4. การขออนุญาตประกอบกิจการโรงงาน
  5. การยื่นขออนุญาตจำหน่ายไฟฟ้า
  6. ขอส่งเสริมการลงทุน (BOI)
ขั้นตอนการนำเข้าเครื่องยนต์
  1. การขอสัมปทานไฟฟ้า
  2. การขออนุญาตผลิตพลังงานควบคุม (พพ.)
  3. การขออนุญาตจำหน่าย
  4. การขออนุญาตเชื่อมโยง (COD)
  5. เริ่มการก่อสร้าง
หมายเหตุ
1)
นิติบุคคล หมายถึง สิ่งที่กฎหมายรับรองให้เป็นสภาพบุคคลสมมุติ ให้มีสิทธิหน้าที่เหมือนบุคคลธรรมดา แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
ก) นิติบุคคลตามประมวลกกหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่
1) กระทรวง ทบวง กรม
2) วัดวาอาราม ที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสงฆ์
3) ห้างหุ้นส่วนที่ได้จดทะเบียนแล้ว
4) บริษัทจำกัด
5) มูลนิธิ สมาคม
ข) นิติบุคคลตามกฎหมายอื่น ได้แก่ นิติบุคคลที่มีกฎหมายพิเศษรับรองสถานะ เช่น พรรคการเมือง รัฐวิสาหกิจ สหกรณ์
2)
หมวด 7 กิจการบริการและสาธารณูปโภค ประเภท เงื่อนไข 7.1 กิจการสาธารณูปโภคและบริการพื้นฐาน 7.1.1 กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้าหรือไอน้ำ

กระบวนการแปรสภาพเป็นแก๊ส (Gasification Process)

คือ การเปลี่ยนรูปพลังงานจากชีวมวลซึ่งเป็นเชื้อเพลิงแข็งให้เป็นเชื้อเพลิงแก๊ส โดยให้ความร้อนผ่านตัวกลางของกระบวนการ เช่นอากาศ ออกซิเจนหรือไอน้ำ ซึ่งกระบวนการแก๊สซิฟิเคชั่นจะมีความแตกต่างจากกระบวนการเผาไหม้ (Combustion) อย่างสิ้นเชิงโดยการเผาไหม้เป็นการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นอย่างสมบูรณ์ในหนึ่งกระบวนการ แต่สำหรับกระบวนการแก๊สซิฟิเคชั่นเป็นการเปลี่ยนรูปพลังงานเคมีภายในของคาร์บอนในชีวมวลไปเป็นแก๊สที่สามารถเผาไหม้ได้ (Combustible Gas) โดยอาศัยปฏิกิริยา 2 กระบวนการ โดยก๊าซที่ผลิตได้จะมีคุณภาพที่ดีกว่าและง่ายต่อการใช้งานกว่าชีวมวล ยกตัวอย่างเช่น สามารถใช้เดินเครื่องยนต์แก๊ส (Gas Engine) และกังหันแก๊ส (Gas Turbine) หรือใช้เพื่อผลิตเชื้อเพลิงเหลวต่อไป (Liquid Fuels) กระบวนการแก๊สซิฟิเคชั่นเป็นกระบวนการเปลี่ยนรูปทางด้านเคมีความร้อน (Thermo chemical Conversion Process) โดยอาศัยอากาศ ออกซิเจน หรือไอน้ำ ที่มีอุณหภูมิสูงกว่า