ขนาดโรงไฟฟ้าชีวมวล

พลังงานทดแทน   พลังงานทางเลือกแก้วิกฤตปัญหาพลังงานโลก  ชีวมวล.....คืออะไร ?  ช่วยชาติด้านพลังงานได้จริงหรือ ? 
ชีวมวล ( Biomass ) คือ สารอินทรีย์ที่เป็นแหล่งกักเก็บพลังงานจากธรรมชาติ   สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานได้  เช่น  เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร   หรือกากจากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมทางการเกษตร  เช่นแกรบ  ชานอ้อย  กากปาล์ม  ซังข้าวโพด   กากมันสำปะหลัง  เศษกิ่งไม้ เป็นต้น
ต้นแบบโงงานผลิตไฟฟ้าชุมชน 04.jpg

การผลิตพลังงานทดแทนจาก  ชีวมวล ( Biomass )  โดยทั่วไปมีอยู่   2 วิธีหลักๆ  ดังนี้

  1. การหมัก ( Fermentation ) จะได้ก๊าซมีเทนแต่มีบริมาณที่น้อยและใช้เวลาค่อนข้างนาน
  2. การเผา ( Combustion and Gassification ) สามารถ นำมาผลิตความร้อนได้โดยตรง  หรือได้องค์ประกอบของก๊าชเชื้อเพลิง    ที่มีค่าพลังงานความร้อน  ( Heating value )  สูง   ซึ่งมีความเหมาะสมและเป็นไปได้อย่างยิ่งในการนำมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า
โรงไฟฟ้าชุมชน ความมั่นคงทางด้านพลังงานทางเลือกใหม่ของประเทศ  !   ประชากร ส่วนใหญ่ของประเทศประกอบอาชีพเกษตรกรรม   กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ   จึงทำให้มีบริมาณของเหลือใช้ทางการเกษตร  หรือชีวมวลอยู่ทุกแห่ง   เราสามารถของเหลือใช้เหล่านั้นมาเป็นวัตถุดิบผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า   โดยสร้างเป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็กหรือโรงไฟฟ้าชุมชน   ที่เหมาะกับชุมชน   ซึ่งจะส่งผลถึงความมั่นคงทางพลังงานของประเทศอย่างมาก  ซึ่งจะช่วยให้เกิดประโยชน์์กับระดับต่างๆ  ดังนี้ระดับชุมชน
  1. ชาวบ้านในชุมชนมีรายได้จากการขายเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้กับโรงไฟฟ้า
  2. สร้างรายได้จากการปลูกไม้เชื้อเพลิง  เช่น กถินยักษ์  เพื่อจำหน่ายให้กับโรงไฟฟ้า   อันเป็นการส่งเสริมพืชเศริษฐกิจทางเลือกตัวใหม่
ระดับท้องถิ่น
  1. ลดปริมาณขยะที่เป็นของเหลือใช้ทางการเกษตร
  2. ช่วยลดมลภาวะทางอากาศ   จากการเผาทำลายขยะที่เป็นของเหลือใช้ทางการเกษตร
  3. ใช้ประโยชน์จากพื้นที่รกร้างว่างเปล่าโดยการปลูกไม้เชื้อเพลิง
  4. สนับ สนุนให้เกิดการเรียนรู้   ปลูกฝังจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์พลังงานให้กับท้องถิ่น   โดยสามารถจัดให้เป็นสถานที่เรียนรู้    ฝึกอบรมเป็นต้นแบบการการใช้พลังงานทดแทนแก่เยาวชนในท้องถิ่น
  5. เกิดการจ้างงานในท้องถิ่นเพิ่มขึ้น  ลดการอพยพแรงงานเข้าสู่เมือง
ระดับประเทศ
  1. ลดการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศได้นับแสนล้านบาท /ปี
  2. ทดแทนการสร้างโรงงานไฟฟ้าขนาดใหญ่ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนนับหมื่นล้านบาทต่อโรงงาน
  3. ดำเนินตามหลักการและหลักปรัชญาเศริษฐกิจพอเพียง   ตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ขั้นตอนดำเนินการสำรวจ
  1. สำรวจปริมาณวัตถุดิบที่จะนำมาทำเชื้อเพลิงในเพื้นที่เป้าหมายว่ามีปริมาณทีเพียงพอและเหมาะสมหรือไม่
  2. วิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ว่ามีความเหมาะสมแก่การลงทุนหรือไม่และมีระยะเวลาคืนทุนเท่าไหร่
  3. กำหนดรูปแบบเทคโนโลยี่ที่เหมาะสมกับชุมชนและเชื้อเพลิงที่มี   สำรวจความคิดเห็น
  4. ดำเนินการก่อสร้าง   ติดตั้งเครื่องจักร   และเชื่อมต่อระบบไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย  ( กฟผ ) การไฟฟ้า นครหลวง ( กฟน ) หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค  ( กฟภ )
  5. ฝึกอบรมบุคลากรให้ สามารถควบคุบดูแลการผลิตกระแสไฟฟ้าและบริหารการจัดการพลังงานหรือเชื้อเพลิง ได้   และบริการข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นแก่การประกอบธุรกิจผลิตพลังงานไฟฟ้าแก่ สมาชิก
เปรียบเทียบต้นทุนค่าพลังงานของโรงไฟฟ้าแบบต่างๆเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของพลังงานแสงอาทิตย์  พลังงานชีวมวล และพลังงานจากกังหันน้ำ การคำนวณต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของพลังงานหมุนเวียนและพลังงานทดแทนตามอายุ โครงการการลงทุนระยะเวลา 10 ปี และ 15 ปี ปรากฏผลดังนี้


  1. การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานจากแสงอาทิตย์ราคาหน่วยละ 11.2744 และ 8.5289 บาท/กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง
  2. การผลิตไฟฟ้าพลังงานจากกังหันน้ำราคาหน่วยละ 2.4042 และ 1.9831 บาท/กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง
  3. การผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวลราคาหน่วยละ 1.445 บาท/กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น